ข่าวชวนคนไทยติดกล้อง ลดตายช่วยคนดี ชี้คนผิด

20 มีนาคม 60 / อ่าน : 3,742

หมอแท้จริงชวนคนไทยติดกล้อง

ลดตายช่วยคนดี – ชี้คนผิด

 

นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ เปิดเผยว่า

 

            เทศกาลสงกรานต์ ปี 2560 กำลังจะเวียนมาถึงอีกไม่กี่วันข้างหน้า ปัญหาที่ทุกภาคส่วนหนักใจที่สุดในขณะนี้ คือความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนที่จะเกิดขึ้นในช่วง 7 วัน ที่ประชาชนเดินทางเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์

( 11-17 เมษายน )

            ซึ่งถ้าดูจากสถิติผู้เสียชีวิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2559 ที่ผ่านมา มีจำนวนสูงถึง 442 คน บาดเจ็บ 3,656 คน เฉลี่ยวันละ 63 คน ขณะที่มาตรการในการหยุดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนยังไม่มีอะไรใหม่ เมื่อเปรียบเทียบกับทุก ๆ ปีที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงมาตรการเดิมที่เคยทำมา ขณะที่การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และการนำเทคโนโลยีทันสมัยที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้ในการควบคุมพฤติกรรมผู้ขับขี่รถและลงโทษ ยังไม่มีการนำมาใช้ ดังที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คาดหวังที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุค 4.0

เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ เปิดเผยว่า

            20 กว่าปีที่ผ่านมามูลนิธิเมาไม่ขับได้เคลื่อนไหวผลักดันมาตรการต่าง ๆ  เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน มีทั้งได้รับการตอบสนอง และไม่รับการตอบสนอง อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่มูลนิธิเมาไม่ขับ ค้นพบก็คือ คนไทยส่วนใหญ่พร้อมที่จะกระทำการละเมิดกฎหมายได้ตลอดเวลา ถ้าคิดว่าไม่มีผู้ใดพบเห็น แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีทันสมัยที่สามารถบันทึกภาพเหตุการณ์ผู้กระทำผิด อาทิเช่น กล้องซีซีทีวี กล้องหน้ารถ กล้องตรวจจับความเร็ว ประกอบกับสื่อออนไลน์มีอิทธิพลอย่างสูงกับสังคมไทย ทำให้ผู้ที่เคยลอยนวลจากการกระทำความผิด ถูกจับกุมตัวมาดำเนินคดีจากหลักฐานที่ปรากฎจากกล้องเป็นจำนวนมาก ซึ่งแตกต่างกับในอดีตที่ผ่านมา ดังนั้นการติดกล้องหน้ารถ จึงเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนที่ยั่งยืน เพราะเป็นมาตรการที่ประชาชนผู้ขับขี่รถจะตรวจสอบซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ โดยอาศัยโซเชี่ยลมีเดียที่มีอืทธิพลอย่างสูงในสังคม ปัจจุบันเป็นตัวชี้วัด

นายแพทย์แท้จริง เปิดเผยว่า

            เทศกาลสงกรานต์ ปี 60 นี้ มูลนิธิเมาไม่ขับขอเรียกร้องให้เจ้าของรถทุกประเภทติดกล้องหน้ารถก่อนออกเดินทาง ซึ่งปัจจุบันมีผู้ติดกล้องหน้ารถประมาณ 10 %  และถ้าปริมาณการติดกล้องหน้ารถเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่า 50 % เชื่อว่าสถิติอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้จะลดลงอย่างแน่นอน สำคัญไปกว่านั้น กล้องหน้ารถที่ทุกท่านจะช่วยเป็นหลักฐานให้คนดี ๆ บนท้องถนนไม่ตกเป็นจำเลยหรือเหยื่อบนท้องถนน ขณะเดียวกันสามารถช่วยชี้เบาะแสจับตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้อีกด้วย  เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ กล่าว


มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล ร่วมกับ

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา สสส. และ มูลนิธิ เมาไม่ขับ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง

โพล ติดกล้องหน้ารถ ช่วยคนดี ชี้คนผิด

มาตรการภาคประชาชน คุมเข้มอุบัติเหตุ สงกรานต์ 60

 

     ดร.นพดล กรรณิกา ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำและสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (

SUPER POLL) ร่วมกับ นายแพทย์ แท้จริง  ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ และ ศาสตราจารย์ ดร. พญ. สาวิตรี อัษณางค์กรชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ร่วมแถลงข่าว เรื่อง โพล ติดกล้องหน้ารถ ช่วยคนดี ชี้คนผิด มาตรการภาคประชาชน คุมเข้มอุบัติเหตุ สงกรานต์ 60 กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพ จำนวนทั้งสิ้น 1,499 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 13 – 19 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา พบว่า

            ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 45.1 จะใช้รถยนต์ส่วนตัว เดินทางไปเที่ยวช่วง สงกรานต์ รองลงมาคือ ร้อยละ 40.3 จะใช้รถยนต์โดยสาร เช่น รถตู้ รถทัวร์ ในขณะที่ร้อยละ 8.9 จะใช้รถมอเตอร์ไซต์ บิ๊กไบค์ และร้อยละ 5.7 จะใช้วิธีอื่นๆ เช่น รถไฟ โดยประชาชนที่ถูกศึกษาเกินครึ่งหรือร้อยละ 58.8 ระบุ ถ้ารัฐบาลไม่มีมาตรการใหม่ๆ ออกมา คาดว่า คนจะตายมากขึ้น เมื่อเทียบกับ สงกรานต์ปีที่แล้ว

            นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.8 ระบุ รู้สึกเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บ หรืออาจเสียชีวิต ช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ เมื่อถามถึง วิธีแก้ปัญหา เมื่อเจอพฤติกรรมขับรถอันตรายของ คนเมาแล้วขับ บนถนนเส้นทางเดียวกัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.1 ระบุ อยู่ห่างๆ ในขณะที่ร้อยละ 53.9 ระบุ ติดกล้องหน้ารถ และร้อยละ 40.2 ระบุแจ้งตำรวจ 191 หรือ ตำรวจทางหลวง 1193  อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึง การติดกล้องหน้ารถของตนเอง เฉพาะผู้ตอบแบบสอบถามที่ขับรถยนต์ พบว่า ร้อยละ 19.8 ได้ติดกล้องหน้ารถแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจเมื่อปีที่แล้ว พบว่า มีแนวโน้มของคนที่ติดกล้องหน้ารถเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 ปี พ.ศ. 2559 เป็น ร้อยละ 15 ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 และล่าสุดอยู่ที่   ร้อยละ 19.8 ในเดือนมีนาคมนี้

            เมื่อสอบถามถึงข้อเสนอต่อ การออกมาตรา 44 ลดตาย อุบัติเหตุ สงกรานต์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.1 ระบุเสนอให้มีการส่งเสริม มาตรการ ติดกล้องหน้ารถ รองลงมาคือ ร้อยละ 85.6 เสนอให้ ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ คนขับ ต้นเหตุอุบัติเหตุ ทุกรายไม่มีเว้น ให้ หมอโรงพยาบาล สาธารณสุข สามารถตรวจจับได้ แทนการใช้ดุลพินิจของตำรวจเพียงอย่างเดียว และร้อยละ 73.1 ระบุ เสนอให้เอาผิดคนนั่งไปกับ คนเมาแล้วขับ ร่วมรับผิดด้วย

            แต่ที่น่าพิจารณา คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.7 เห็นด้วย ต่อ การติดกล้องหน้ารถ เป็นการส่งเสริม มาตรการภาคประชาชน ช่วยคนดี ชี้คนผิด ลด ปัญหาทุจริต รีดไถ ของเจ้าหน้าที่ และลด เหตุร้าย ปัญหาอาชญากรรม บนถนนอีกด้วย

          ศาสตราจารย์ ดร. พญ.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า ผลสำรวจชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่กำลังพยายามหาวิธีใหม่ในการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเองโดยแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมที่จะช่วยกันสร้างบรรยากาศรื่นเริง สงกรานต์อย่างปลอดภัย ลดอุบัติเหตุ ลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้น ธุรกิจน้ำเมาจึงควรเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมลดละการกระตุ้นให้เกิดยอดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในหมู่ประชาชนช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ เพราะคนส่วนใหญ่รู้สึกกังวลและไม่ปลอดภัยเมื่อเจอคนขับรถอันตราย เมาแล้วขับ และภาคประชาชนได้เริ่มแล้วในการติดกล้องหน้ารถของตนเองโดยยังไม่ต้องรอการสนับสนุนจากภาครัฐ แต่ถ้าภาครัฐสนับสนุนย่อมจะทำให้เกิดการติดกล้องหน้ารถคอยควบคุมพฤติกรรมขับรถอันตรายเมาแล้วขับของคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            ในขณะที่ นายแพทย์ แท้จริง  ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ กล่าวว่า การติดกล้องหน้ารถ จึงเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนที่ยั่งยืน เพราะเป็นมาตรการที่ประชาชนผู้ขับขี่รถจะตรวจสอบซึ่งกัน  และกัน ทั้งนี้ โดยอาศัยโซเชี่ยลมีเดียที่มีอิทธิพลอย่างสูงในสังคมปัจจุบันเป็นตัวชี้วัด ดังนั้น เทศกาลสงกรานต์ ปี 60 นี้ มูลนิธิเมาไม่ขับ ขอแนะนำให้เจ้าของรถทุกประเภทติดกล้องหน้ารถก่อนออกเดินทาง ซึ่งปัจจุบันมี    ผู้ติดกล้องหน้ารถประมาณ 15 – 20 %  และถ้าปริมาณการติดกล้องหน้ารถเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่า 50 % เชื่อว่าสถิติอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้จะลดลงอย่างแน่นอน สำคัญไปกว่านั้น กล้องหน้ารถที่ทุกท่านจะช่วยเป็นหลักฐานให้คนดี ๆ บนท้องถนนไม่ตกเป็นจำเลยหรือเหยื่อบนท้องถนน ขณะเดียวกันสามารถช่วยชี้เบาะแสจับตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้อีกด้วย 

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ วิธีเดินทางไปเที่ยวช่วง สงกรานต์ ปีนี้ เป็นวิธีหลักในการเดินทาง

ลำดับที่

วิธีเดินทาง

ร้อยละ

1

รถยนต์ส่วนตัว

45.1

2

รถยนต์โดยสาร เช่น รถตู้ รถทัวร์

40.3

3

รถมอเตอร์ไซต์ บิ๊กไบค์

8.9

4

อื่นๆ เช่น รถไฟ

5.7

 

รวมทั้งสิ้น

100.0


ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ ในช่วง 7 วันอันตราย หากรัฐบาลไม่มีมาตรการอะไรออกมาใหม่ๆ คาดว่า คนจะตายมากขึ้นหรือลดลง เมื่อเทียบกับ สงกรานต์ปีที่แล้ว

ลำดับที่

แนวโน้มคนตาย ช่วงสงกรานต์ ถ้า รัฐบาลไม่มีมาตรการใหม่ๆ

ร้อยละ

1

ตายเพิ่มขึ้น

58.8

2

ตายลดลง

41.2

 

รวมทั้งสิ้น

100.0


ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บ หรืออาจเสียชีวิต ช่วงเทศกาลสงกรานต์

ลำดับที่

ความเสี่ยง

ร้อยละ

1

เสี่ยง

86.8

2

ไม่เสี่ยง

13.2

 

รวมทั้งสิ้น

100.0

 

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ วิธีแก้ปัญหา เมื่อเจอพฤติกรรมขับรถอันตรายของ คนเมาแล้วขับ บนถนนเส้นทางเดียวกัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่

วิธีแก้ปัญหา เมื่อเจอพฤติกรรมขับรถอันตรายของคนเมาแล้วขับ

ร้อยละ

1

อยู่ห่างๆ                                     

56.1

2

ติดล้องหน้ารถ

53.9

3

แจ้งตำรวจ 191 หรือ ตำรวจทางหลวง 1193

40.2

 

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ การติดกล้องหน้ารถของตนเอง เฉพาะผู้ตอบแบบสอบถามที่ขับรถยนต์

ลำดับที่

การติดกล้อง

ร้อยละ

1

ได้ ติดกล้องแล้ว

19.8

2

ไม่ได้ติด

80.2

 

รวมทั้งสิ้น

100.0

 

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอ ต่อ การออกมาตรา 44 ลดตาย อุบัติเหตุ สงกรานต์

ลำดับที่

ข้อเสนอ ต่อ การออกมาตรา 44 ลดตาย อุบัติเหตุ สงกรานต์

ร้อยละ

1

ส่งเสริม มาตรการ ติดกล้องหน้ารถ                           

87.1

 

2

ตรวจวัด ปริมาณแอลกอฮอล์ คนขับ ต้นเหตุอุบัติเหตุ ทุกรายไม่มีเว้น ให้ หมอโรงพยาบาล สาธารณสุข สามารถตรวจวัดได้ แทนการใช้ดุลพินิจของตำรวจอย่างเดียว

 

85.6

3

เอาผิดคนนั่งไปกับ คนเมาแล้วขับ ร่วมรับผิดด้วย

73.1

 

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ การติดกล้องหน้ารถ เป็นการส่งเสริมมาตรการภาคประชาชน ช่วยคนดี ชี้คนผิด ลด ปัญหาทุจริต รีดไถ ของเจ้าหน้าที่บนถนน และลด เหตุร้าย ปัญหาอาชญากรรม บนถนนอีกด้วย

ลำดับที่

ความคิดเห็น

ร้อยละ

1

เห็นด้วย

94.7

2

ไม่เห็นด้วย

5.3

 

รวมทั้งสิ้น

100.0




สถิติการเสียชีวิตและบาดเจ็บช่วง 7 วันอันตราย

 

เทศกาลปีใหม่ 

เทศกาลสงกรานต์ 

ปี พ.ศ. 

เสียชีวิต 

บาดเจ็บ 

เสียชีวิต 

บาดเจ็บ 

ปีพ.ศ. 2555

335

3,375

320

3,320

ปีพ.ศ. 2556

365

3,329

323

3,040

ปีพ.ศ. 2557

366

3,345

322

3,225

ปีพ.ศ. 2558

341

3,117

364

3,559

ปีพ.ศ.2559

380 

3,505 

442 

3,656 

ปีพ.ศ.2560

478

4,128

 

 

10 จังหวัด การตายสูงสุด ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2559

ลำดับที่ 

จังหวัด 

จำนวนผู้เสียชีวิต 

1

กรุงเทพมหานคร

19

2

นครราชสีมา

19

3

พิจิตร

17

4

กาญจนบุรี

15

5

เชียงราย

15

6

อุดรธานี

15

7

บุรีรัมย์

14

8

ประจวบคีรีขันธ์

14

9

ขอนแก่น

13

10

เชียงใหม่

13

 

รวม

154

10 จังหวัด การตายสูงสุด ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2558 

ลำดับที่ 

จังหวัด

จำนวนผู้เสียชีวิต

1

สุรินทร์

16

2

ร้อยเอ็ด

14

3

เชียงใหม่

13

4

นครราชสีมา

13

5

เชียงราย

11

6

พิษณุโลก

11

7

กรุงเทพมหานคร

10

8

นครสวรรค์

9

9

ประจวบคีรีขันธ์

9

10

สุราษฎร์ธานี

9

 

รวม

115


10 จังหวัด การตายสูงสุด ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2557

ลำดับที่

จังหวัด

จำนวนผู้เสียชีวิต

1

นครราชสีมา

14

2

เชียงราย

11

3

เชียงใหม่

9

4

นครสวรรค์

12

5

ราชบุรี

9

6

กรุงเทพมหานคร

8

7

นครปฐม

8

8

เลย

8

9

สงขลา

8

10

ปทุมธานี

7

 

รวม

94


10 จังหวัด การตายสูงสุด ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2556

ลำดับที่

จังหวัด

จำนวนผู้เสียชีวิต

1

ประจวบคีรีขันธ์

12

2

กาญจนบุรี

11

3

ร้อยเอ็ด

11

4

นครสวรรค์

9

5

สงขลา

9

6

ขอนแก่น

8

7

เชียงราย

8

8

เชียงใหม่

8

9

นครปฐม

8

10

พระนครศรีอยุธยา

8

 

รวม

92


ความคืบหน้าคดีดัง



QR Code DDD Line
ddd025750101