เกี่ยวกับมูลนิธิ

วัตถุประสงค์ 1. สร้างกระแสความตื่นตัวในสังคมเกี่ยวกับปัญหาอุบัติเหตุจราจรจากสุรา
2. เสริมสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนไม่ขับรถขณะเมาสุรา
3. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจทั่วไปได้มีส่วนร่วมรณรงค์
4. เพื่อขยายขอบเขตการรณรงค์ไปยังกลุ่มบุคคลต่างๆ  

 

ประวัติความเป็นมา จากรากหญ้าชมรมเมาไม่ขับ สู่ต้นกล้ามูลนิธิเมาไม่ขับอีกบทบาทหนึ่งของกลุ่มคนที่ห่วงใยสังคม

ย้อนหลังไปเมื่อปี 2538 กองวิจัยและวางแผน สังกัดกรมตำรวจ (ชื่อเดิมในขณะนั้น) ได้รายงานสถิติผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบก พบว่ามีคนไทยบาดเจ็บจาก อุบัติเหตุจราจร 50,718 ราย เสียชีวิต 16,727 คน และกว่าร้อยละ 60 ของผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตมีสาเหตุมาจากการเมาแล้วขับ ขณะที่ไม่มี หน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบ ปัญหาดังกล่าวนี้โดยตรง ประกอบกับข้อมูลเรื่องภัยอันตรายจากการ เมาแล้วขับยังไม่เป็นที่รับรู้ อย่างกว้างขวางของผู้คนในสังคม ส่งผลให้กลุ่มบุคคลที่ต้องแบกรับภาระนี้มากที่สุดก็คือ กลุ่มแพทย์ด้านอุบัตเหตุ เพราะว่าในทุกวันจะมีคนไทยที่ประสบอุบัติเหตุจราจรเข้ามารักษาตัวใน โรงพยาบาลเฉลี่ยสูงถึงชั่วโมงละ 6 คน และที่แพทย์ไม่สามารถช่วยชีวิตไว้ได้เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบผู้เสียชีวิตจากสงครามอ่าวเปอร์เซียคนไทยเสียชีวิตมากกว่าหลายเท่าตัว

กระทรวงสาธารณสุขในยุคนั้นมี นายแพทย์วิทุร แสงสิงแก้ว เป็นปลัดกระทรวง อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาอีกตำแหน่งหนึ่ง (สว.ยุค ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้ง) เล็งเห็นว่าถ้าสังคมไทยยังปล่อยให้คนเมาออกมาขับรถบนท้องถนนได้อย่างเสรี โดยไม่มีมาตรการลงโทษอะไร อีกกี่หมื่น กี่แสนชีวิตของคนไทยที่ต้องสูญเสียไป นายแพทย์วิทุร แสงสิงแก้ว จึงมอบหมายให้ นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์ด้านอุบัติเหตุและสาธารณภัย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในขณะนั้นไปจัดทำแผนรณรงค์การลดอุบัติเหตุจราจรจากสุรา เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ โดยเป้าหมายแรกมุ่งไปที่สื่อมวลชนและคนในวงการบันเทิง โดยเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2539 สถาบันการแพทย์ด้านอุบัติเหตุและสาธารณภัย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดให้มีการสัมมนาในหัวข้อ “บทบาทของสื่อมวลชนและคนบันเทิงในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจรจากสุรา” ณ โรงแรมนิกโก้มหานคร ถนนรัชดา กรุงเทพฯ ซึ่งการสัมมนาในครั้งนั้น ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการโครงการรณรงค์เมาไม่ขับ โดยหลังจากนั้น นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช ได้รับคำแนะนำจากปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์วิทูร แสงสิงแก้ว ให้ไปคิดรูปแบบองค์กรในการดำเนินงานโครงการรณรงค์เมาไม่ขับ ขึ้น พร้อมทั้งยังแนะนำให้ไปทาบทามบุคคลที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับของสังคมมาเป็นประธาน ซึ่งบุคคลที่นายแพทย์วิทุร แสงสิงแก้ว แนะนำก็คือคุณดำรง พุฒตาล นักสื่อสารมวลชนชื่อดัง สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพ (สว. สมัยแรกได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้ง) ซึ่งคุณดำรง พุฒตาล ในช่วงแรก ยังแบ่งรับแบ่งสู้ เพราะไม่แน่ใจว่าโครงการนี้จะทำกันแบบไฟไหม้ฟางเหมือนๆ กับหลายๆ โครงการหรือเปล่า แต่จากประสบการณ์สมัยที่เคยไปเป็นผู้รายงานข่าวการแข่งกีฬาโอลิมปิค ที่ลอสแองเจอริส สหรัฐอเมริกาเมื่อ 20 กว่าปี คุณดำรง พุฒตาล ได้มีโอกาสชมข่าวผู้หญิงคนหนึ่งที่สูญเสียลูกสาวจากคนเมาขับรถมาชน และได้ออกมาเรียกร้องต่อสังคมอเมริกันให้จัดการพวกเมาแล้วขับอย่างจริงจัง ภาพเหตุการณ์เมื่อกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ยังอยู่ในความทรงจำของ คุณดำรง พุฒตาล ตลอดจนเมื่อเห็นสถิติตัวเลขผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรที่ นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช นำมาเปิดเผย ในที่สุด คุณดำรง พุฒตาล ก็ตกลงยอมรับเป็นประธานให้ แต่ติดที่ชื่อที่จะจัดตั้งว่าควรใช้ชื่ออะไร

ซึ่งต่อมาได้มีการประชุมกันหลายครั้ง และที่ประชุมได้สรุปว่าควรใช้ชื่อ ชมรมคนรุ่นใหม่ไม่ขับรถ เมื่อเมาสุรา พร้อมทั้งได้จัดให้มีการประชุมใหญ่สมาชิกของชมรมฯ ขึ้นที่โรงแรมนิกโก้มหานคร เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2539 ซึ่งประกอบไปด้วยบุคคลจากหลายสาขาอาชีพ ทั้งข้าราชการ ทหาร ตำรวจ สื่อมวลชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ถือเป็นการประชุมครั้งแรกอย่างเป็นทางการ และที่ประชุมได้เลือกให้คุณดำรง พุฒตาล เป็นประธาน และเลือกให้นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช เป็นเลขาธิการ แต่เนื่องจากชื่อชมรมคนรุ่นใหม่ไม่ขับรถเมื่อเมาสุรา” ยังไม่เป็นที่ยุติของคณะกรรมการชมรม และคณะกรรมการอยากให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม จึงมีมติให้มีการจัดประกวดชื่อ และโลโก้ของชมรมฯ โดยได้รับการสนับสนุนเงินรางวัลจาก คุณสมพร เวชพาณิชย์ จำนวน 6,000 บาท เพื่อมอบให้กับผู้ชนะการประกวด จากการพิจารณาของคณะกรรมการ จากประชาชนที่ส่งชื่อและโลโก้เข้าประกวด จำนวนทั้งสิ้น 482 ชื่อ ผลปรากฏว่า ผู้ชนะเลิศได้แก่ คุณปิยะพงศ์ คงประพันธ์ ได้รับรางวัลเงินสด 3,000 บาท รองชนะเลิศ คุณนฤมล เวียงสารวัน ได้รับรางวัลเงินสด 2,000 บาท และรางวัลที่ 3 คุณศุภกร วสุธาร ได้รับรางวัลเงินสด 1,000 บาท ชื่อชมรมคนรุ่นใหม่ ไม่ขับรถเมื่อเมาสุรา จึงเปลี่ยนมาเป็น ชมรมเมาไม่ขับ (Don’t Drive Drunk Club) โดยสถานที่ตั้งตั้งอยู่ที่ตึกสิรินธร ชั้น 13 โรงพยาบาลราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ทั้งนี้โดยได้รับความอนุเคราะห์จากสถานที่จาก สถาบันการแพทย์ด้านอุบัติเหตุและสาธารณภัย ต่อมาเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2540 ชมรมเมาไม่ขับ ได้จัดการสัมมนาเพื่อแก้ปัญหาอุบัตเหตุจราจรจากสุราขึ้น ณ โรงแรมนิกโก้มหานคร โดยมี พล.อ.อ.สามารถ โสดสถิตย์ กรรมาธิการวิสามัญศึกษาบังคับใช้กฎหมายวุฒิสภา เป็นประธาน ซึ่งบรรยากาศในการสัมมนาครั้งนั้นได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก มีการจัดเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับอุบัตเหตุจราจร นำโดยอจ.สุรวงศ์ วัฒนกูล, พ.อ.น.พ.วทัญญู ปรัชญานนท์, คุณปิยะรัตน์ ธงปิยะเลิศ, อจ.อนุวัติ เตียวตระกูล โดยได้รับเกียรติจาก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมช.มหาดไทยในขณะนั้น ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อเรื่อง “นโยบายปราบผู้เสพ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แล้วขับรถ” 

ถัดจากนั้นมาวันที่ 1 เมษายน 2540 คุณดำรง พุฒตาล ประธานชมรมเมาไม่ขับ ได้เชิญกรรมการบริหารชมรมเมาไม่ขับ ประชุมเพื่อสรุปผลการสัมมนาเพื่อแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจรจากสุรา ณ ห้องประชุมศูนย์บัญชาการกู้ชีพนเรนทร โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งที่ประชุมได้กำหนดถึงแนวทางการทำงาน ของชมรมไว้ในประเด็นหลักคือ

  1. รณรงค์ให้คนไทยรับรู้ถึงอันตรายจาก การเมาสุราแล้วออกไปขับรถเพื่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
  2. สนับสนุนให้ตำรวจมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง (กรมตำรวจเริ่มนโยบายจับผู้เมาแล้วขับอย่างจริงจังในเดือนธันวาคม พ.ศ.2539)
  3. สนับสนุนให้เกิดภาคีเครือข่ายในการรณรงค์เมาไม่ขับในทุกสังคม
  4. สนับสนุนให้มีการแก้ไขกฎหมายที่มีผลทั้งทางตรงทางอ้อมกับการเกิดอุบัติเหตุจราจรที่มีสาเหตุมาจากการเมาแล้วขับ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ชมรมเมาไม่ขับได้รับความอนุเคราะห์จากคุณอนันต์ บัวสุวรรณ ให้ใช้อาคารเลขที่ 1/174-177 ซอยแจ้งวัฒนะ 14 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 เป็นที่ทำการชมรมเมาไม่ขับ จากนั้นในปี 2544 ชมรมเมาไม่ขับ ได้ย้ายที่ทำการมายังเลขที่ 99/349 อาคาร ณ นคร ชั้น 5 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2545 ที่ห้องอาหารรสเกษตร คุณดำรง พุฒตาล ประธานชมรมเมาไม่ขับ ได้เชิญกรรมการชมรมเมาไม่ขับ ประชุมเพื่อหารือถึงแนวทางในการจดทะเบียนจัดตั้ง มูลนิธิเมาไม่ขับ โดยคุณดำรง พุฒตาล แจ้งให้กรรมการทราบว่า ชมรมเมาไม่ขับ ดำเนินงานมาครบ 7 ปีแล้ว ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ชมรมเมาไม่ขับ ได้มีกิจกรรมเผยแพร่สู่สาธารณชนไปมากมาย ดังนั้นเพื่อเป็นการวางรากฐานของชมรมเมาไม่ขับ ให้ยั่งยืนต่อไปในอนาคต จึงขอมติต่อที่ประชุมว่าเห็นควรที่จะจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิเมาไม่ขับ แทนชมรมเมาไม่ขับหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิเมาไม่ขับได้ โดยมอบหมายให้นายสุรสิทธิ์ ศิลปงาม ผู้จัดการมูลนิธิเมาไม่ขับ เป็นผู้ประสานติดต่อกับกระทรวงวัฒนธรรม ในการขออนุญาตจัดตั้งมูลนิธิเมาไม่ขับ และได้รับอนุญาตจัดตั้งเป็นมูลนิธิเมาไม่ขับ เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2545 ต่อมาเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2546 มูลนิธิเมาไม่ขับได้ย้ายมายังที่ทำการใหม่ เลขที่ 28/12 ซอยสุขุมวิท 19 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 ซึ่งเป็นสำนักงานของคุณดำรง พุฒตาล ที่อนุญาตให้ใช้เป็นที่ตั้งถาวรของมูลนิธิเมาไม่ขับ

อย่างไรก็ตาม เส้นทางของชมรมเมาไม่ขับ จากในอดีตจนถึงปัจจุบันมีนิสิต นักศึกษา ทั้งระดับปริญญาตรี ไปจนถึงปริญญาเอก สนใจและขอข้อมูลไปทำรายงานมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องกลยุทธ์ในการรณรงค์โครงการเมาไม่ขับ จนทำให้รับรู้กันอย่างกว้างขวางว่ามีกลยุทธ์อย่างไร ความสำเร็จที่ประจักษ์ชัดประการแรกคือ การสร้างคำว่าเมาไม่ขับ ให้คนในสังคมเรียกขานและยอมรับจนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง โดยไม่ได้ใช้การซื้อโฆษณาตามสื่อต่างๆ แต่ทางชมรมเมาไม่ขับจะเน้นการขอความอนุเคราะห์สื่อทุกแขนงช่วยประชาสัมพันธ์ข่าวทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรมของชมรมเมาไม่ขับ นอกจากนั้นสื่อในการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับประชาชนที่ทางชมรมเมาไม่ขับคิดว่า ถูก และอยู่คงทนนานที่สุดก็คือ สติ๊กเกอร์ติดรถ ชมรมเมาไม่ขับจึงขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ จัดพิมพ์สติ๊กเกอร์เมาไม่ขับ แจกจ่ายให้กับประชาชน อีกทั้งยังระดมอาสาสมัครติดสติ๊กเกอร์เมาไม่ขับหลังรถทุกชนิด นับตั้งแต่เปิดตัวชมรมเมาไม่ขับ มีรถที่ได้ติดสติ๊กเกอร์เมาไม่ขับแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ล้านคัน ข้อมูลนี้สอดคล้องกับผลสำรวจของรายการ 4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม ที่พบว่าจากการสำรวจข้อความที่พบเห็นมากที่สุดหลังรถยนต์คือข้อความว่าอะไร ผลสำรวจผู้ชมทั่วประเทศตอบว่า “เมาไม่ขับ” ทั้งที่รวมไปถึงการสร้างพันธมิตรภาคีเครือข่าย เช่น กลุ่มแท๊กซี่อาสา ขับรถส่งคนเมากลับบ้าน กลุ่มเหยื่อเมาแล้วขับ กลุ่มนักศึกษา SADD กลุ่มผู้ขับรถสาธารณ กลุ่มผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ฯลฯ ตลอดจนมีการเดินสายนำข้อมูลอันตรายจากการเมาแล้วขับไปมอบให้สื่อมวลชนแขนงต่างๆ ซึ่งต่อมาได้รับการนำไปเผยแพร่ขอขยายผลในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น ในรายการเจาะใจ ทางช่อง 5, ในรายการเซฟตี้ทอล์ค ทางช่อง 5, ในรายการทไวไลน์โชว์ ทางช่อง 3 (ในขณะนั้น), รายการเกมเศรษฐี ทางช่อง 3 (ในขณะนั้น), ในช่วงข่าวสถานีโทรทัศน์ทางช่อง 9, ในช่วงข่าวสถานีโทรทัศน์ช่อง 7, ในช่วงข่าวสถานีโทรทัศน์ช่อง 11, ในสถานีวิทยุต่างๆ อาทิเช่น วิทยุกองทัพ, สถานีวิทยุ สวพ.91, สถานีวิทยุ จส.100, สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน ข่าวสด เดอะเนชั่น บางกอกโพสต์ บ้านเมือง ไทยโพสต์ ฯลฯ

อย่างไรก็ตามแม้ว่าการรณรงค์สร้างความรับรู้เรื่องเมาไม่ขับจะประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง แต่ในด้านพฤติกรรมของผู้ขับรถบางกลุ่ม บางคณะยังไม่เปลี่ยนแปลงและยังมีความเชื่อว่าการเมาแล้วขับ ไม่ใช่เรื่องอันตรายอะไร ถือเป็นภารกิจหลักของมูลนิธิเมาไม่ขับในการที่จะสร้างกระแสให้คนในสังคม เกิดความตื่นตัวและปฏิเสธที่จะร่วมทางไปกับผู้ที่เมาแล้วขับเพื่อลดการบาดเจ็บและเสียชีวิต โดยยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน มูลนิธิเมาไม่ขับจะเป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับภาคีเครือข่าย เพื่อร่วมกันผลักดันการลดอุบัติเหตุจราจรที่มีสาเหตุมาจากสุราในทุกรูปแบบ

อย่างไรก็ตาม มูลนิธิเมาไม่ขับ ได้ผ่านอุปสรรคมามากมาย และบุคคลที่มีคุณณูปการกับมูลนิธิเป็นอย่างมาก ก็คือ กรรมการผู้ก่อตั้งทุกคนที่เสียสละวางหลักปักฐานจนทำให้มูลนิธิเมาไม่ขับเติบโตมาจนถึงวันนี้ ซึ่งบรรทัดจากนี้ไป มูลนิธิเมาไม่ขับขออนุญาตเอ่ยนามบุคคลผู้มีอุปการะคุณที่ให้การสนับสนุนมูลนิธิเมาไม่ขับ เพื่อเป็นการแสดงการขอบคุณ บุคคลท่านแรก ได้แก่ 

1. พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ องคมนตรี
2. คุณดำรง พุฒตาล
3. พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช
4. กฤตวิทย์ ศรีพสุธา
5. คุณสมพร เวชพาณิชย์
6. น.พ.แท้จริง ศิริพานิช
7. คุณวันรุ่ง แสนแก้ว
8. น.พ.สมชาย กาญจนสุต
9. คุณอนันต์ บัวสุวรรณ
10. คุณอารญารัตน์ ชาญชัยณรงค์
11. คุณวินัย งามสมทรัพย์
12. คุณสุรวงศ์ วัฒนกูล
13. คุณอนุวัติ เตียวตระกูล
14. รศ.ดร.อัมพร สุขเกษม
15. คุณพลภัทร สุวรรณศร
16. คุณฉลวย ศรีรัตนา
17. คุณธานินท์ ลิมพะสุต
18. พ.ต.ถนอม งามสมทรัพย์
19. คุณไจตนย์ ศรีวังพล
20. พ.อ.น.พ.วทัญญู ปรัชญานนท์
21. น.พ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล
22. คุณชาญเชาว์ ไชยานุกิจ
23. คุณโกวิท วัฒนกุล
24. คุณจารึก วิริยะกิจ
25. พ.ญ.ชไมพันธุ์ สันติกาญจน์
26. พ.ต.ต.หญิงพัชรา สินลอยมา
27. พ.ต.อ.ไพฑูรย์ เพิ่มศิริวิศาล
28. คุณคริสโตเฟอร์ แจ๊ค เบญจกุล
29. คุณภาณุมาศ สุขอัมพร
30. คุณกฤษณะ ไชยรัตน์
31. คุณอ้วน อรชร
32. คุณอารักษ์ พรประภา
33. คุณอรนุช แสงสุริยจันทร์
34. คุณภัทรพันธุ์ กฤษณา
35. คุณสุวิทย์ เศรษฐธรกุล
36. คุณชาย ปถะคามินทร์
37. คุณนิพนธ์ ปฏิวงศ์ไพศาล
38. คุณพรทิวา เฉลิมวิภาส
39. ดร.ปราจิณ เอี่ยมลำเนา
40. คุณขวัญชัย ปภัสร์พงษ์
41. ดร.กิติพงศ์ กิติยารักษ์
42. ท่านผู้พิพากษา อดิศักดิ์ ศรธนะรัชต์
43. คุณสันติ อิ่มใจจิตร
44. คุณวรินทร์ เทียมจรัส
45. คุณปิยะรัตน์ จงปิยะเลิศ
46. น.พ.เรวัต วิศรุตเวช
47. น.พ.ศุภกร บัวสาย
48. ท.พ.สุปรีดา อดุลย์ยานนท์
49. ท.พ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์
50. คุณงามจิตต์ จันทรสาธิต
51. น.พ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม
52. คุณจงกล รัชนกูล
53. คุณนิตยา โควสุวรรณ
54. คุณวรวิทย์ วิทยอำนวยคุณ
55. คุณธวัชชัย วงศ์ไพศาล
56. คุณยืนยง โอภากุล
57. คุณเชน ฦาใชย
58. คุณวรรณิดา ชุลีกร
59. ดร.ปาริชาติ สถาปิตานนท์
60. คุณพัฒนเดช อาสาสรรพกิจ
61. คุณศุภชัย นิลวรรณ
  ฯลฯ

 

รายชื่อกรรมการบริหาร มูลนิธิเมาไม่ขับ
1. คุณดำรง พุฒตาล ประธานมูลนิธิเมาไม่ขับ
2. นพ.แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ
3. คุณสุรวงศ์ วัฒนกูล กรรมการ
4. คุณอนุวัติ เตียวตระกูล กรรมการ
5. คุณฉลวย ศรีรัตนา กรรมการ
6. คุณไจตนย์ ศรีวังพล กรรมการ
7. พ.อ.นพ.วทัญญู ปรัชญานนท์ กรรมการ
8. นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล กรรมการ
9. คุณชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ กรรมการ
10. คุณสมพร เวชพาณิชย์ กรรมการ
11. คุณคริสโตเฟอร์ เบญจกุล กรรมการ
12. คุณภานุมาศ สุขอัมพร กรรมการ
13. คุณกฤษณะ ไชยรัตน์ กรรมการ
14. คุณอ้วน อรชร กรรมการ
15. คุณอารักษ์ พรประภา กรรมการ
16. คุณกฤตวิทย์ ศรีพสุธา กรรมการ
17. คุณอรนุช แสงสุริยจันทร์ กรรมการ
18. คุณสุวิทย์ เศรษฐกรกุล กรรมการ
19. คุณชาย ปถะคามินท์ กรรมการ
20. คุณนิพนธ์ ปฏิวงศ์ไพศาล กรรมการ
21. คุณสุรสิทธิ์ ศิลปงาม กรรมการ
22. คุณมนต์ชัย สายศิริวิทย์ กรรมการ
23. คุณสันติ อิ่มใจจิตร กรรมการ
24. คุณวันรุ่ง แสนแก้ว กรรมการ
25. คุณวรินท์ เทียมจรัส กรรมการ
26. ดร.ปราจิณ เอี่ยมลำเนา กรรมการ
27. ภัทรพันธุ์ กฤษณา กรรมการ
     

 

วิสัยทัศน์มูลนิธิเมาไม่ขับ
ความคาดหวังของมูลนิธิเมาไม่ขับ
เป็นผู้นำในการรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุจราจร ที่มีสาเหตุมาจากการดื่มสุรา
แนวทางการดำเนินงาน

1.

ผลักดันให้มีกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายที่มีผลในการปฏิบัติเพื่อลดพฤติกรรมเมาแล้วขับ

2.

รณรงค์เพื่อให้เกิดกระแสว่าพฤติกรรมเมาแล้วขับไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมไทย

3.

สนับสนุนให้เกิดเครือข่าย และการมีส่วนร่วมในการรณรงค์เมาไม่ขับ ครอบคลุมทั่วประเทศ

4.

พัฒนามูลนิธิเมาไม่ขับ และบุคลากรให้เข้มแข็ง


From a small association to Don’t Drunk Drive Foundation : Another roles of a group who cares of our society

Back into 1995, Research & Planning division, Thai Royal Police department (previously named) declared the number of injured and casulties which are 50,718 and 16,727 respectively. More than 60% of those amount were from getting drunk and driving. However, there was no such an organization who had a direct responsibility on this while the news related to this issue was not widely spread out. As a result, doctor was the group needed to carry this responsibility because there was an average of 6 persons/hour who got injured from vehicle accident. Furthermore, doctors were not able to help at a rate of 2 persons/hour. From the above fact, Thais casualty from vehicle accident was higher than that of the number of casualty at Gulf war.  

Dr.Witoon Saengsingkaew, Permanenet Secretary of Ministry of Public Health (at that moment) and a Senator thought that if this kind of problem still persisted, there would definitely have a huge number of casulties. He therefore assigned Dr. Taejing Siripanich, Director of Accident and Relief Institution, Department of Medical Services, Ministry of Public Health (at that mement) to set up an implementation campaign to reduce the number of accident from drinking and driving. The first target group was aimed at the Press and actors/actresses. Initially setting up a seminar called ‘Roles & Responsibilities of the Press and Stars in solving drinking and driving issue’ at Nikko Mahanakorn hotel on Rajchadaphisek rd., Bangkok. Moreover, Dr.Witoon also suggested Dr. Taejing to setup an organization encouraging drinking not driving campaign and to contact a famous, well known person to become a president who was Mr. Damrong Puttarn – Mass communicator and Senator. However, he was reluctant as he was afraid this project would not be lasted long and would finally collapse as same as any other projects. However, Mr. Damrong, 20 years ago once a news reporter for Olympic games in Los Angeles, USA, still recognized the news related to one US women who had lost her daughter from drinking and driving and she asked US citizens to pay attention on this problem. Moreover, he has heard about information related to great number of injuries and casulties that was disclosed by Dr. Taejing. Mr.Damrong finally accepted the position, but still thinking about the name of the organization.

After several meetings, there was a conclusion to name ‘New generation does not drive when drinking’ and setting up the first formal meeting at Nikko Mahanakorn hotel on July 11, 1996. Members comprised of bureaucratic, soldier, police, the press, as well as ordinary people, and they selected Mr.Damrong as a President and Dr. Taejing as a Secretary. However, the name of the organization was not yet finalized and the committee would like to encourage other people to get involve more on this. So they setup a name and logo contest with the support from Khun Somporn Vejvanich for THB 6,000 as a reward for the winner. There were totally 482 names proposed, and the winner was Khun Piyapong Kongprapun receiving cash for THB 3,000; Second winner was Khun Niramol Wiengsarawan receiving cash for THB 2,000; Third winner was Khun Supakorn Wasutarn receiving the rest cash at THB 1,000. As a result, the name of the organization has been changed to ‘Don’t Drive Drunk’ located at Sirindhorn bldg., 13th fl., Rajvithi hospital, Rajthevee, Bangkok 10400 with the great support from Accident and Relief Institution. There was a seminar about ‘Solving vehicle accident causing by Alcohol’ on March 22, 1997 at Nikko Mahanakorn hotel where General Samart Sodsatit, a commissioner, was the President. The seminar was interesting and there also was an experience sharing session about vehicle accident leaded by Prof. Surawong Wattanakul, Col.Dr.Vatanyoo Pradyanont, Khun Piyarat Thongpiyalert, Prof.Anuwat Teatrakul, and Police Captain Chalern Yoobumrung – Deputy Minister of Interior (at that moment) conducting a seminar about ‘Suppressing drinking and driving policy’.

On April 1, 1997,  Khun Damrong Puttarn – Don’t Drunk Drive President, invited the committee to make a conclusion from the seminar how to solve vehicle accident from drinking persons at Narendhorn meeting room, Rajvithi hospital, and set the objectives of the organization as follows;

1) Encourage Thais about the danger of drinking and driving

2) Encourage Thai police to strictly enforce the drinking and driving law  (which they started around December 1996)

3) Support to have an associate to encourage others not to drinking and driving

4) Encourage to adjust the laws, both direct and indirect, related to drinking and driving

In 1999, Khun Anand Bussuwan kindly offered the office to the organization located at 1/174-177 Soi Chengwattana 14, Chaengwattana rd., Laksi, Bangkok 10120. In 2001, the office had moved to 99/349 Na Nakorn bldg., 5th floor,  Chaengwattana rd., Laksi, Bangkok 10120. On February 6, 2002, at Rodkaseart restaurant, Khun Damrong Puttarn – Don’t Drunk Drive President, invited the committee to have a meeting about organization registered as the organization conducted and released many activities for the last 7 years as well as aiming the organization to be sustainable. As a result, the committee had unanimously vote to make a registration to be ‘Don’t drive drunk foundation’ and assigned Khun Susit Sinlapagam to be a Manager and coordinated with Ministry of Culture to establish the foundation. It was finally get a permission to be a foundation on September 6, 2002. In July 2003, the foundation has been moved to 28/12 Soi Sukhumvit 19, Sukhunvit rd., North Khlong Toey, Wattana, Bangkok 10110 where owned by Khun Damrong Puttarn who is generously offered to be a permanent office.

Moreover, lots of students ranging from Bachelor to Doctoral level who were interested in and requesting for information especially how to get success in spreading out the campaign which everyone knows about. The critical success factor was the key word ‘Don’t drunk drive’ which was later widely spread out in our society without investing in any ads, but asking for cooperation to publicize the activities of our foundation instead. Furthermore, the long lasting public relations method was using a sticker. The foundation also asked any other organization about sticker preparation and distributed to citizens. There are currently at least 3 million people that posted this sticker on their cars. This information shown a consistency with the survey from 4x4 Family game asking a question ‘what is the most popular statement posting on the cars?’ while the answer was ‘Don’t drunk drive’. Furthermore, the foundation also extended to any other associate such as cab drivers who offer send the drinking person back home, Drinking and driving victims, SADD students, any other public transporation drivers, motorbikes, etc. There were also publicize to the Press which was further spread out in many tv shows such as Jor-Jai (channel 5), Safety talk (channel 5), Twilight show (channel 3 – at that moment), Millionaire game (channel 3 – at that moment), News (channel 7,9, and 11); via radio such as Royal Thai Army radio, Sor Wor Por 91, Jor-Sor 100, Ruam duay Chuay Gun; and via newspaper such as Thairath, DailyNews, Matichon, KaoSod, The Nation, Bangkok Post, BanMuang, Thai Post, etc.

 

Eventhough the Don’t drunk drive campaign was highly success, but some drivers’ behavior remain unchanged, and also believed that drinking and driving is not danger. Hence, it is the primary objectives of Don’t drunk drive foundation to conduct an awareness refusing to travel with drinking persons for the purpose of avoiding the number of injuries and casualties. Strategically, Don’t drunk drive foundation would be the center of cooperation with any other associates to encourage in reducing drinking and driving which is a major caused of vehicle accident.

 

Year 1992                   Government has issued Don’t Drive Drunk Act with the regulation of punishment. Lawbreaker shall be imprisoned not over than 3 months with 2000-10000 baht in damages. However, there was not any enforcement to use this law due to unavailable of tools and police’s understands. State of society was also not acknowledged this law yet.

Year 1996                   Crowd that worry about traffic accident leading by Mr. Damrong Pudtan (who was a mass communicator and senator during that time) and Dr. Taejing Siripanich (Medic from Ministry of Public health) have been joined with the ally to establish Don’t Drive Drunk club with the campaign of “Don’t Drive Drunk” which is the first time campaign in Thailand.

Year 1997                   Conference of Don’t Drive Drunk club had a resolution to promote Mr. Damrong Pudtan to be a chairman and Dr. Taejing Siripanich to be a secretary of the club. All the year of 1997, there were the campaigns for a crowd nationwide to realize the important of Don’t Drive Drunk. At the preliminary stage, only warning was used for the lawbreakers.

Year 1998                   Don’t Drive Drunk club and Royal Thai Police Department has launched an advertisement of “Don’t Drive Drunk for you and your fellow traveler” and seriously enforced Don’t Drive Drunk Act.

Year 1999                   Don’t Drive Drunk club offered Thai government to announce “Khāophansā day” as National Don’t Drink day.

Year 2000                   Don’t Drive Drunk club offered the penalty / punishment to be more serious for the drive drunks. Do not advertise the alcoholic beverages before 10 pm. Petrol service station shall not sell the alcoholic beverages.

Year 2001                   Don’t Drive Drunk club contributed organizing a network of victims to campaign for society.

Year 2002                   Don’t Drive Drunk club has registered to be Don’t Drive Drunk foundation.

Year 2003                   Don’t Drive Drunk foundation has push forward Thai government to foresee the emphasis of traffic accident problems from the drive drunks.

Year 2005                   Don’t Drive Drunk foundation offered Thai government to enforce public car driver shall have 0 degree of alcohol.

Year 2005                   Government has issued a law to prohibit the advertisement of alcoholic beverages shall not broadcast before 10 pm and shall be emphasized to have positive content.

Year 2006                   Government has issued a law to prohibit Petrol service station shall not sell the alcoholic beverages.

Year 2007                   Government has issued a law to control the alcoholic beverages.

Year 2007                   Government has issued a law by increasing the legal penalty for the drive drunks from “imprisoning not over 3 months with 2000-10000 baht in damages” to be “imprisoning not over 1 year with 5000-20000 baht in damages and suspending the license for 6 months”.

Year 2008                   Government has announced “Khāophansā day” as National Don’t Drink day.

Year 2011                   Government has issued a draft of Priminiter’s office regarding the safety on road by organizing the policy committee of the safety on road for all levels to proceed the campaign and contribution of law enforcement.

Year 2011                   Government has issued a law to the public car drivers that shall have 0 degree of alcohol. Lawbreaker shall be imprisoned not over than 3 months with 2000-10000 baht in damages

Year 2012,                  Don’t Drive Drunk Foundation pushed for not drinking alcoholic beverageamong people who are driving in any vehicles with Thai Government to make related laws become effective in Thailand.  This law has become effective to those people who drink alcoholic beverage while driving.   Fine is equal to and not over THB 10,000 or imprisonment for 6 month at least.

Year 2014,                  Don’t Drive Drunk Foundation pushed for an initiative to publish a law by government.This law is concerned to people who refused to check level of alcoholic percent blood. Those will be reported as a drunken driving person. This law was published in 2014.  

Year 2015,                  Don’t Drive Drunk Foundation has been encouraging Thai court to sentence those cases more strictly instead of deciding to approve supervision order among drunk drivers. Don’t Drive Drunk Foundation also pushed for NCPO order to use this order to decrease numbers of dead related to drunk driving in Thailand.  In the same year, PM Prayuth Chanocha released NCPO order 46/2558 to confiscate vehicles of the owner who are drunk drivers. Cars are confiscated for 7 days. and drunk drivers’ licenses are confiscated in 30 days.

Year 2017,                  Don’t Drink Drive Foundation pushed for reducing drinking alcoholics beverage among young  people who is below 20 years old and aimed to limit alcohol in blood quantity lower than 50 milligram percent.  With this effort, the government has released ministerial regulation no. 21 in 2017 to limit alcohol in blood among juveniles not over 20 years old.  Those people who drive are limited alcohol in blood not over 2 milligram percent. In addition, this regulation has complied to those who have temporary driver license and don’t have driver license limited not over than 20 milligram percent. In case of alcohol in blood quantity which is higher than 20 milligram percent, those people will be convicted in drunken driving. With this new law, fine is equal to THB 5,000 and not over THB 20,000 or both imprisonment and fine should be applied.

Year 2018,                  the foundation also has pushed for law amendment of Thai General Insurance law from 150 milligram percent of alcohol in blood to 50 milligram percent among people who drive..  With this effort, this law has been amended and announced effective on 1 June 2017.  The foundation also has pushed for building a working group who is running on a platform of planning for reducing road accidents in Thailand. This working group is reported under National Legislative Assembly.

 

Objective of Don't Drive Drunk Foundation

1. Promotion to Social concerning with Road Accident from Drunk and Drive problem

2.Support to Awareness for people Don't Drive Drunk

3. Give an Opportunity People have participate to Campaign Don't Drive Drunk

4.Expansion campaign to people in public .

 

Mission and operation

1.support and promotion Law and Law Enforcement to decrease Drunk and Drive behavior

2.Campaign for Social sanction to person Drunk and Drive

3.Support to have net work for campaign Don't Drive Drunk all of area

4.Development officer and Don't Drive Drunk Foundation to be stron


ความคืบหน้าคดีดัง



QR Code DDD Line
ddd025750101